ใครเดินทางบ่อย เดินทางบนหลากหลายสายการบิน ก็มักจะมีโปรแกรมสะสมไมล์มากกว่า 1 โปรแกรมครับ วันนี้ผมได้สรุปและแนะนำว่า การบินแต่ละครั้ง ควรต้องเอาไมล์สะสมเข้าโปรแกรมไหน ถึงจะคุ้มค่าที่สุด และเราควรมีโปรแกรมสะสมไมล์ของสายการบินไหนกันบ้าง ไปดูกัน!
Disclosure: บทความนี้ เขียนจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียน และไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ จากสายการบินหรือตัวแทนที่เกี่ยวข้อง
ทำความเข้าใจระบบสะสมไมล์
สายการบินพาณิชย์ส่วนมากในปัจจุบัน จะมี loyalty program ให้ผู้โดยสารสามารถสะสมไมล์ และทำสถานะพรีเมียม บัตรทอง บัตรเงินของแต่ละโปรแกรม เพื่อให้สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าประจำนะครับ (ที่เรารู้จักกันดี ก็คือโปรแกรม Royal Orchid Plus หรือ ROP ของการบินไทยนั่นแหละครับ) โดยแต่ละโปรแกรมสะสมไมล์ ก็จะมีเงื่อนไขในการสะสมไมล์ที่แตกต่างกันไป มีวันหมดอายุของไมล์สะสมในโปรแกรมที่แตกต่างกันไป และได้รับไมล์สะสมจากแต่ละชั้นโดยสารในแต่ละสายการบินที่แตกต่างกันไป
โปรแกรมสะสมไมล์ส่วนมาก ไม่ได้จำกัดว่าต้องสะสมไมล์จากสายการบินตัวเองเท่านั้นนะครับ แต่เราสามารถสะสมไมล์ได้จากสายการบินพันธมิตรในเครือเดียวกันได้ด้วยเช่นกัน โดยตัวอย่างที่ชัดเจน คือ หากเราบินในสายการบินกลุ่ม Star Alliance สายการบินใดก็ได้ (มีตั้ง 27 สายการบินในเครือ) ก็สามารถนำไมล์สะสม เข้ามาเป็นไมล์ Royal Orchid Plus ของการบินไทยได้นั่นเองครับ เช่น ผมบิน EVA Air ก็สามารถสะสมไมล์เข้า Royal Orchid Plus ได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปสมัครโปรแกรมสะสมไมล์ของ EVA Air แต่อย่างใด หรืออย่างในตารางด้านบน ผมมีบินด้วยสายการบิน TAP Portugal (TP) ก็สามารถสะสมไมล์เข้าโปรแกรม ROP ได้เช่นกัน
ตัวอย่างที่ยกไป นี่ค่อนข้างชัดเจนและตรงไปตรงมานะครับ แต่ที่หลายคนอาจจะพลาดไป คือโปรแกรมสะสมไมล์ของหลายสายการบิน มีการทำพาร์ตเนอร์สะสมไมล์ร่วมกับสายการบินที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มพันธมิตรตัวเองด้วย โดยที่เราอาจจะไม่ทราบมาก่อน และอาจจะเสียสิทธิ์ในการสะสมไมล์ในโปรแกรมที่เราชื่นชอบไป เช่น ตารางด้านบน เป็นโปรแกรมสะสมไมล์ของ Etihad Guest ครับ สังเกตว่า ผมสามารถสะสมไมล์จากการบินบนสายการบิน Korean Air (KE) และ Malaysia Airlines (MH) ไปสะสมเข้าโปรแกรมของ Etihad ได้ แม้ว่า Etihad จะไม่ได้เป็นสายการบินร่วมกลุ่มพันธมิตร OneWorld หรือ SkyTeam แต่อย่างใด
ดังนั้น ไม่ต้องไปไล่สมัครสมาชิกโปรแกรมสะสมไมล์ของทุกสายการบินที่เราเดินทางนะครับ แต่ให้เลือกที่เรามีโอกาสได้ใช้จริงๆ เพียงไม่กี่โปรแกรมก็พอ และหากเลือกได้เหมาะกับสายการบินที่เราเดินทางบ่อยๆ เราก็จะมีไมล์สะสมอยู่ในโปรแกรมที่เราใช้ประจำอยู่มากพอ แทนที่จะมีหลายโปรแกรม แต่มีไมล์อยู่อย่างละนิดละหน่อย ซึ่งนำไปทำประโยชน์อะไรไม่ได้เลย
สะสมไมล์ไปทำอะไร?
แม้ว่าทุกสายการบิน จะบอกว่า ไมล์สะสมสามารถนำไปใช้แลกอะไรได้หลากหลายอย่าง แต่จุดประสงค์หลักจริงๆ และที่คุ้มค่าจริงๆ คือการนำไปแลกตั๋วเครื่องบินฟรีนั่นเองครับ ซึ่งการแลกนั้นก็ใช้ไมล์ไม่น้อยเลย (เราจึงควรมีโปรแกรมสะสมเพียงไม่กี่โปรแกรม แต่ทำให้มีจำนวนไมล์สะสมในแต่ละโปรแกรมเอาไว้มากๆ)
การสะสมไมล์เพื่อไปแลกตั๋วเครื่องบินเนี่ย ก็นำพามาถึงการเลือกโปรแกรมสะสมไมล์เหมือนกันนะครับ เพราะถึงแม้เราจะสามารถสะสมไมล์ได้จากการบินหลากหลายสายการบิน แต่การแลกไมล์เพื่อเอาตั๋วเครื่องบินเนี่ย ส่วนมากจะต้องแลกเป็นตั๋วของสายการบินเจ้าของโปรแกรมสะสมไมล์นั้นๆ ถึงจะได้อัตราการแลกที่คุ้มค่าที่สุด หากไปแลกของสายการบินพาร์ทเนอร์หรือในกลุ่มพันธมิตร ก็จะใช้จำนวนไมล์มากเกินความจำเป็น
ตัวอย่างเช่น คนไทยก็จะนิยมสะสม ROP ของการบินไทยเป็นหลัก เพราะเมื่อมีจำนวนไมล์มากพอแล้ว เราสามารถแลกเป็นตั๋วการบินไทย ที่มีเส้นทางเริ่มเดินทางจากกรุงเทพไปยังหลากหลายเมือง มีทั้งใกล้และไกล ตามจำนวนไมล์ที่เราอยากจะใช้แลกครับ หากเราเลือกไปสะสมเข้าโปรแกรม Aeroplan ของ Air Canada โอกาสที่จะแลกตั๋ว Air Canada ก็อาจจะน้อยมาก ถ้าเป็นคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เพราะไม่มีเที่ยวบินที่เริ่มต้นจากในกรุงเทพเลย เป็นต้น ดังนั้น ผมคงบอกแทนทุกคนไม่ได้ ว่าโปรแกรมสะสมไมล์อันไหนดีที่สุด ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะการเดินทางของแต่ละคน และจุดเริ่มต้นเดินทางของแต่ละคนด้วย ว่าจะมีโอกาสได้เดินทางกับสายการบินไหนบ่อยๆ นั่นเองครับ
อีกหนึ่งปัจจัยที่ควรเอามาพิจารณา คือ โปรแกรมบัตรเครดิตทั้งหลาย ที่เปิดให้เราแลกคะแนนสะสมบัตรเครดิต มาเป็นไมล์สายการบินได้ โดยส่วนมากบัตรเครดิตในไทย ใบที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง จะสามารถแลกคะแนนสะสมบัตรเครดิตที่เราได้จากการรูดใช้จ่าย มาเป็นไมล์ ROP ของการบินไทยได้ ด้วยอัตราการแลกที่แตกต่างกันไป (อ่าน >> รวมสุดยอดบัตรเครดิต สำหรับปั๊มไมล์แลกตั๋วเครื่องบินโดยเฉพาะ) แต่ก็จะมีบัตรเครดิตบางใบ ที่เปิดให้เราแลกคะแนนมาเป็นไมล์ในโปรแกรมสะสมไมล์อื่นๆ ได้เช่นกันนะครับ เช่น AMEX สามารถแลกคะแนนเป็น Asia Miles, Emirates, KrisFlyer ฯลฯ ได้
บินครั้งนี้ เราได้กี่ไมล์?
อันนี้สำคัญ และหลายคนเข้าใจผิดอย่างมากครับ ต้องทำความเข้าใจก่อน ดังนี้
- ไมล์สะสม จากการบิน ถูกคำนวนจากระยะทางจริงของการเดินทางในเที่ยวบินนั้นๆ เช่น กรุงเทพ – ฮ่องกง ก็จะถูกคิดจากตัวเลข 1,049 ไมล์ ซึ่งเป็นระยะทางจริงระหว่างกรุงเทพ ถึง ฮ่องกง … แต่ว่า…
- ไม่ใช่ทุกไฟลต์ ที่เราบินแล้ว จะได้ไมล์ครบตามระยะทางบินจริงนะครับ บางไฟลต์อาจจะบินแล้วได้ไมล์แค่ครึ่งเดียวของระยะทางบินจริง ก็มี … และ…
- ไม่ใช่ทุกไฟลต์ ที่เราบินแล้วจะได้ไมล์สะสม บางไฟลต์อาจจะบินแล้วไม่ได้เลยสักไมล์ ก็มีเช่นกัน
- ไมล์ที่ได้จากเที่ยวบินขาไป อาจจะไม่เท่ากับไมล์ที่ได้จากเที่ยวบินขากลับก็ได้ ทั้งๆ ที่เป็นเส้นทางเดียวกัน
สิ่งที่เราควรรู้ ว่าบินครั้งนี้ เราจะได้ไมล์เท่าไหร่ คือ “คลาส” ของตั๋วโดยสารครับ คลาสที่ว่านี้ ไม่ใช่แค่ Economy, Business หรือ First นะครับ แต่เป็นคลาสของตั๋ว ซึ่งจะระบุไว้เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเดียว โดยในตั๋ว Economy ก็อาจจะเป็นไปได้หลายคลาส เช่น Y, B, Q, H, M, T, V, W, X หรือใน Business Class ก็อาจจะเป็น C, D, J, I ซึ่งคลาสตั๋วนี้ ส่วนมากแล้วจะระบุอยู่ในตั๋วโดยสารของเรา เป็นวงเล็บบ้าง หรืออาจจะเป็นตัวอักษรเดี่ยวๆ ในหมวดหมู่ของ CLASS ตามตัวอย่างที่ผมแปะไว้ให้ดูนี้
รหัสคลาสตั๋วนี่แหละครับ จะเป็นตัวบ่งบอกว่า เราได้ไมล์สะสมเป็นจำนวนเท่าไหร่จากระยะทางบินจริง การที่ตั๋วมีรหัสคลาสแตกต่างกัน ก็มาจากตั๋วแต่ละประเภท เช่น ตั๋วโปรโมชั่นที่เราซื้อมาถูกมากๆๆๆ อาจจะสะสมไมล์ไม่ได้ หรือสะสมไมล์ได้น้อยมาก, ตั๋ว 1 เดือน, 3 เดือน, ตั๋วปี ก็จะมีอัตราการสะสมไมล์ได้แตกต่างกัน ดังนั้น เราควรรู้ก่อนครับ ว่าตั๋วของเราครั้งนี้ มีรหัสคลาสตั๋วอะไร
ยกตัวอย่าง การบินไทย จะมีตารางบอกชัดเลยครับ ว่าถ้าเดินทางด้วยการบินไทย คลาสไหน จะได้ไมล์เท่าไหร่ของระยะทางที่เราบินจริง จากหน้าเว็บของ ROP ดังนี้
ซึ่งตอนที่เราซื้อตั๋ว บางทีรหัสคลาสที่สูงขึ้นเล็กน้อย อาจจะแพงกว่ากันไม่กี่ร้อยบาท แต่เราอาจะได้ไมล์สะสมเยอะขึ้นเป็นหลักพันไมล์ได้ คนที่ชอบสะสมไมล์อาจจะต้องพิจารณาตอนซื้อตั๋วด้วยเหมือนกันนะครับ ยอมซื้อตั๋วแพงขึ้นอีกนิด แต่ได้ไมล์คุ้มค่า มาทำสถานะบัตรทอง หรือสะสมไมล์ไว้แลกตั๋วฟรีในอนาคตได้คุ้มค่ามากขึ้นกว่าเดิม
โปรแกรมสะสมไมล์ของสายการบินอื่นๆ ก็มีบอกเช่นกันนะครับ โดยจะมีข้อมูลอยู่ในหน้าเว็บไซต์ของโปรแกรมสะสมไมล์นั้นๆ อยู่เสมอ ดังนั้น ถ้าเราดูคลาสในตั๋วเครื่องบินเป็น เราก็จะรู้ได้ไม่ยากครับ ว่าตั๋วเรา สะสมไมล์ได้ประมาณเท่าไหร่จากการบินครั้งนั้น ซึ่งคลาสในตั๋วเครื่องบินของเราเนี่ย ขาไปและขากลับ อาจจะเป็นคนละคลาสกันก็ได้นะครับ เช่น ขาไปอาจจะเป็น Economy (B) ขากลับอาจจะเป็น Economy (V) ก็ได้ ขึ้นอยู่กับตอนที่เราซื้อ ขาไปอาจจะเต็มมาก ได้ตั๋วแพง ส่วนขากลับไฟลต์โล่งๆ ได้ตั๋วถูกมา ถ้าเป็นแบบนี้ ขาไปเราก็จะได้ไมล์สะสมมากกว่าขากลับ ไม่งงเนอะ
เลือกให้ดี บินครั้งนี้ เอาไมล์สะสมเข้าโปรแกรมไหน
อย่างที่ผมบอกครับ ว่าเราบินครั้งนึงเนี่ย เราสามารถเลือกได้ว่าจะเอาไมล์ไปสะสมไว้ที่โปรแกรมไหน โดยเราไม่ควรมีโปรแกรมสะสมไมล์หลายอันเกินไป เพราะจะทำให้แต่ละโปรแกรมมีไมล์สะสมจำนวนไม่มากพอที่จะเอาไปแลกอะไรได้ ดังนั้น มาเลือกกันดีกว่าครับ ว่าบินครั้งนี้ สะสมเข้าโปรแกรมไหนดี
ผมมีเว็บไซต์ที่ช่วยเหลือเรื่องนี้ได้ดีครับ ชื่อเว็บ Where to Credit (www.wheretocredit.com) เว็บนี้จะเป็นเหมือนสูตรคำนวนให้เรา แค่เราใส่สายการบิน, เส้นทาง และ คลาสตั๋ว (ดูเป็นแล้วเนอะ จากที่สอนไว้ด้านบน) ที่เราเดินทาง จากนั้น เว็บจะสรุปตารางออกมาให้เลยครับ ว่าการบินครั้งนั้น เราสามารถเลือกสะสมไมล์กับโปรแกรมไหนได้บ้าง และโปรแกรมไหนเราจะได้ไมล์เป็นจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งมันก็จะไม่เท่ากันนะครับ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของโปรแกรมสะสมไมล์นั้นๆ กับคลาสตั๋วของเรา
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราบินด้วยการบินไทย เส้นทางกรุงเทพ-ลอนดอน (BKK-LHR) ตั๋วคลาส J ซึ่งเป็น Business Class แบบย่อมเยา ก็เอาข้อมูลมากรอกในหน้าเว็บ และมันก็จะแสดงตารางออกมาให้แบบนี้ ….
หลายคนเข้าใจผิดว่า บินด้วยการบินไทย สะสมเข้า ROP จะได้ไมล์เยอะที่สุด (ซึ่งจริงๆ ก็เยอะแหละครับ ได้ 125% ของระยะทางบินจริง หรือ 7,439 ไมล์) … แต่!! หลายคนไม่รู้ว่า จริงๆ แล้วถ้าเราเอาไมล์ที่ได้จากการเดินทางครั้งนี้ ไปสะสมเข้าโปรแกรม Miles & More ของกลุ่มสายการบิน Lufthansa จะได้ไมล์สะสมมากถึง 11,902 ไมล์ หรือ 2 เท่าของระยะทางบินจริง! ซึ่งจริงๆ แล้วข้อมูลนี้ก็มีบอกอยู่ในเว็บไซต์ของ Lufthansa เช่นกัน (ยิ่งถ้าบิน First Class การบินไทย และสะสมเข้า Miles & More จะได้ไมล์ 3 เท่าของระยะทางบินจริงเลยนะ ในขณะที่หากสะสมเข้า ROP จะได้เพียง 1.5 เท่า)
แต่หากในสถานการณ์เดียวกัน เปลี่ยนจากการบิน Business Class (J) มาเป็น Economy (V) ตั๋วโปรโมชั่นบ้าง ก็จะได้ตารางนี้ครับ
จะเห็นว่าหลายโปรแกรม ไม่ได้ไมล์สะสมเลยด้วยซ้ำ หากเราเลือกผิด แทนที่จะได้ไมล์มาบ้าง กลับไม่ได้อะไรเลย … ดังนั้น เลือกให้ดีก่อนเดินทางนะครับ โดยเฉพาะสายการบินที่มีพาร์ทเนอร์นอกกลุ่มพันธมิตรของตัวเอง เช่น Emirates หรือ Etihad สามารถสะสมไมล์จากการบินด้วยสายการบินอื่นๆ ได้หลากหลายพอสมควร
สำคัญ แจ้งโปรแกรมที่เราจะสะสมก่อนเริ่มเดินทาง
ตามระบบแล้ว หากจะได้รับไมล์สะสมเร็วที่สุด เราต้องแจ้งหมายเลขสมาชิกของโปรแกรมที่เราจะสะสมไมล์ ก่อนการเดินทางครับ โดยจะเข้าไปใส่ใน Manage Booking ของหน้าเว็บสายการบินที่เราจะเดินทางก็ได้ หรือจะแจ้งตอนเช็คอินก็ได้ ซึ่งพอระบุไป ใน boarding pass ก็มักจะมีชื่อโปรแกรมกับเลขสมาชิกเราระบุอยู่ เป็นอันอุ่นใจ บินไฟลต์นั้น ก็จะได้ไมล์สะสมเข้าถูกโปรแกรมที่เราต้องการ และเลือกมาเป็นอย่างดีแล้ว
เราสามารถเลือกโปรแกรมสะสมไมล์ที่แตกต่างกัน ในเที่ยวบินขาไป และ ขากลับได้ด้วยนะครับ โดยให้แจ้งเลขสมาชิกสะสมไมล์ของโปรแกรมที่เราต้องการจะสะสม ตอนที่เราเช็คอินเที่ยวบินที่กำลังจะเดินทาง
หากเราลืมแจ้งโปรแกรมสะสมไมล์ และเดินทางไปแล้ว อันนี้จะเสียเวลาหน่อยครับ เราต้องเก็บ boarding pass ใบนั้นไว้ เพื่อมาเคลมไมล์คืนทีหลัง แต่ละโปรแกรมจะมีนโยบายการเคลมไมล์ย้อนหลังที่แตกต่างกัน ส่วนมากจะต้องรอพ้นวันเดินทางไปแล้ว 30-45 วัน จึงค่อยส่งเรื่องเคลมไมล์ย้อนหลังได้ และก็จะได้ไมล์เข้าโปรแกรมช้ากว่าปกติ
ส่วนกรณีที่เราแจ้งโปรแกรมสะสมไมล์ตอนเดินทางไปแล้ว และมาอ่านบทความนี้ หรือมาหาข้อมูลอีกที อยากเปลี่ยนใจ เอาไปสะสมอีกโปรแกรมแทน จะทำได้มั้ย? อันนี้ตอบเลยว่าทำไม่ได้นะครับ แจ้งแล้วแจ้งเลย เปลี่ยนใจทีหลังไม่ได้แล้วครับ
1 ไมล์ มีค่าเท่าไหร่?
แค่เรื่องไมล์สะสม ต้องจริงจังขนาดนี้เลยมั้ย 55555 ใช่ครับ เพราะมูลค่าของไมล์สะสมนั้น สูงกว่าทีหลายคนคิด เช่น ไมล์สะสม ROP จำนวน 130,000 ไมล์ สามารถแลกตั๋วไปกลับยุโรปในชั้น Business Class มูลค่าแสนกว่าบาทได้เลยนะ (แต่ต้องจ่ายภาษีน้ำมันเพิ่มเองเป็นเงินสดอีกเล็กน้อย) สำหรับผมแล้ว ผมตีมูลค่า 1 ไมล์ อยู่ที่ประมาณ 70-80 สตางค์ … สมมติเราบินไปกลับยุโรปสักเที่ยวด้วยตั๋ว Economy Class ก็จะได้ไมล์สะสมเกือบหมื่นไมล์ ซึ่งก็คิดเป็นเงินหลายพันบาทนะครับ ดังนั้น อย่าพลาดที่จะสะสมไมล์เข้าโปรแกรมที่เราต้องการครับ มันน่าเสียดายจริงๆ นะ
ตั๋วถูกที่สุด ไม่ใช่ตั๋วที่คุ้มค่าที่สุด
อีกหนึ่งอย่างที่ไม่อยากให้ทุกคนพลาด คือเที่ยวบินภายในประเทศ ด้วยการบินไทย หรือ ไทยสมายล์ จะได้ไมล์ ROP ขั้นต่ำ 500 ไมล์ครับ (แม้ว่าระยะทางบินจะไม่ถึง 500 ไมล์ก็ตาม) อันนี้คุ้มมาก เพราะตั๋วในประเทศราคาค่อนข้างถูก บางเส้นทางไทยสมายล์เที่ยวละพันกว่าบาทเอง คุ้มสุดคุ้มนะครับ ผมเองมักจะเสิชราคาตั๋วการบินไทย หรือไทยสมายล์ควบคู่กับสายการบินโลว์คอส์ตอื่นๆ ด้วยทุกครั้ง ถ้าเทียบแล้วไทยสมายล์แพงกว่านกแอร์/แอร์เอเชีย/ไลอ้อนแอร์ เพียงเที่ยวละไม่กี่ร้อยบาท ผมเลือกไทยสมายล์นะครับ เพราะบินสบายกว่า และได้ไมล์สะสม 500 ไมล์ต่อเที่ยวด้วย – ตั๋วถูกที่สุด ไม่ใช่ตั๋วที่คุ้มค่าที่สุดครับ
สรุป
ทุกไมล์มีความหมายครับ และเป็นสิทธิ์ของเราจริงๆ ที่จะเลือกรับไมล์เข้าโปรแกรมที่เกิดประโยชน์กับเรามากที่สุด ถ้าเราหาข้อมูลเพิ่มสักนิด เลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับการเดินทางของเรา มันคุ้ม และประหยัดเงินไปได้อย่างมากครับ นี่ไม่ได้นับรวมถึงสถานะของโปรแกรมสมาชิก ที่เราจะได้สถานะบัตรทอง ได้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากการเอาไมล์สะสมไปแลกตั๋วอีกมากมายนะครับ ดังนั้น เป็นสมาชิกเพียงไม่กี่โปรแกรม คำนวนการเดินทางในแต่ละปีของเราคร่าวๆ แพลนเลือกสายการบินที่จะเดินทาง เอาราคาค่าตั๋วมาคิดเรื่องนี้เพิ่มเข้าไปอีกหน่อยตอนซื้อ บางทีตั๋วที่ถูกที่สุด อาจจะไม่ใช่ตั๋วที่คุ้มที่สุดก็ได้ครับ
สะสมไมล์ทุกครั้งที่เดินทางนะครับ บางเที่ยวอาจจะได้ไมล์ไม่มากนัก แต่ไมล์ส่วนมากมีอายุเก็บไว้ได้เป็นปีๆ หรือบางโปรแกรมก็ไม่มีวันหมดอายุเลยด้วย พอสะสมได้มากพอที่จะแลกตั๋วเครื่องบินได้ฟรีทั้งใบ หรือเอามาอัปเกรดที่นั่งได้สักรอบ ก็คุ้มมากๆ แล้ว หรือหากสุดท้ายเราไม่ทันได้ใช้จริงๆ ไมล์ทำท่าจะหมดอายุก่อน โปรแกรมสะสมไมล์ต่างๆ ก็มักจะมีออปชั่นให้แลกเป็นสินค้าอื่นๆ หรือเวาเชอร์ที่มีมูลค่าได้อยู่เหมือนกัน ดังนั้น ทำไมเราถึงจะไม่เลือกสะสมไมล์ให้ได้ประโยชน์ที่สุดล่ะ จริงมั้ย
บทความวันนี้ ผมเล่าถึงเฉพาะเรื่องการสะสมไมล์ที่ได้จากการบินจริงนะครับ ส่วนไมล์สะสมที่ได้จากการแลกคะแนนบัตรเครดิต ขอเรียนเชิญอ่านบทความนี้ครับ >>> รวมสุดยอดบัตรเครดิต สำหรับปั๊มไมล์แลกตั๋วเครื่องบินโดยเฉพาะ
อ่านแล้วชื่นชอบ อย่าลืมกดติดตามเพจ spin9.me เพื่อที่จะไม่พลาดบทความต่อๆ ไปนะครับ
ขอให้ทุกท่านสนุกกับการสะสมไมล์ สวัสดีครับ
บทความโดย:
อู๋ spin9
- เบื้องหลังแนวคิด Technogym ผู้บุกเบิก Home gym ให้คนทั่วโลก
- NANTAWAN Pool Villa — สมฐานะ บ้านร้อยล้าน
- Nantawan Bangna km 15 ที่สุดของความลักชูรีบนบางนา-ตราด
- พาชม Supalai Icon Sathorn — โครงการใหม่ ชีวิตหรูหรา ใจกลางสาทร
- เลือกของแต่งบ้านใหม่ งานคราฟต์ขั้นสุด ที่ MOTIF x O2E สยามพารากอน
- รีวิว Philips Hue ชุดใหญ่ — ไม่ใช่แค่ไฟเปลี่ยนสี แต่งห้องสวยขึ้นเยอะ
- เที่ยวออสเตรเลีย!
- รีวิวคอนโด SCOPE Langsuan — ดีไซน์เวิลด์คลาสบนโลเคชันที่ไพรม์ที่สุดในกรุงเทพฯ
- เราอัพเกรดประตูใหม่ ของดีจริง
- พฤกษ์ภิรมย์ ราชพฤกษ์ตัดใหม่ —โอ่โถงสมฐานะ บนทำเลราชพฤกษ์
- พาชมร้าน Smart Home Flagship Store — ความร่วมมือจาก 4 แบรนด์ มาที่เดียวจบ
- รีวิว The Bangkok Thonglor – คอนโดหรู ต้นซอยทองหล่อ
- รีวิว VIVE กรุงเทพกรีฑา — บ้านเดี่ยวดีไซน์เก๋ โดดเด่นไม่ซ้ำใคร
- เศรษฐสิริ บางนา-สุวรรณภูมิ บ้านหรูบนทำเลเศรษฐกิจ จากแบรนด์ Sansiri
- รีวิว EBO X — หุ่นยนต์ดูแลความปลอดภัยในบ้าน กล้องชัด เดินได้ทั่วห้อง สั่งงานด้วยเสียง
- พาทัวร์โรงงานผลิตบ้าน SCG HEIM — บ้านทั้งหลังผลิตที่นี่!
- ARTALE ASOKE – RAMA 9 ศิลปะที่ผสานฟังก์ชันอย่างลงตัวบนทำเลใจกลางพระราม 9
- Grand Bangkok Boulevard ปิ่นเกล้า-กาญจนาฯ — ซีรีส์ใหม่ อัพไซส์ใหญ่ขึ้นยิ่งกว่าเดิม
- พาชม Dusit Residences โครงการหรู ใจกลางเมือง พร้อมมาตรฐานบริการระดับห้าดาว
- Nantawan ปิ่นเกล้า-กาญจนา สวยหรู สะอาดตา คลาสสิคแบบฝรั่งเศส
- รีวิว Technogym Run นวัตกรรมที่ปฏิวัติวงการลู่วิ่ง
- รีวิวหลังติดโซลาร์เซลล์ — ประหยัดค่าไฟไปแล้ว 60,000 บาท คืนทุนใน 7 ปี
- Grand Bangkok Boulevard รามอินทรา-เกษตรนวมินทร์ บ้านหรูพร้อมโถงบันไดวน คลับเฮาส์มหาวิหาร
- Malton Gates กรุงเทพกรีฑา บ้านเดี่ยว Super Luxury ประตูสู่คุณภาพชีวิตที่ดี
- เปิดระบบ Smart Home ที่บ้าน — บอกหมด เราใช้อะไรบ้าง
- ทดสอบเสื้อ Uniqlo UV Protection — เนื้อผ้าบางเบาขนาดนี้จะกัน UV ได้ขนาดไหน
- พาชม Park Heritage พัฒนาการ — บ้านเดี่ยว Super Luxury หรูสุดของสัมมากร เริ่ม 49 ล้านบาท
- พาชม Park Origin Thonglor—3 ตึกใหญ่ ไฮเอนด์ โดดเด่นที่ส่วนกลาง
- รีวิว เครื่องล้างจาน Bosch — ใช้แล้วชีวิตดี!
- รีวิว ‘ปราณ’ พัฒนาการ 32 บ้านที่เป็นลมหายใจของครอบครัว
- อาหารของสายการบินไหน Healthy ที่สุด ของปี 2019
- รีวิวโรงหนังระดับ First Class ที่ SF World Cinema หรูหรา นั่งสบายสุด
- อู๋-ซู่ชิง พาเที่ยว New York City
- รีวิว เป้ Peak Design Everyday Backpack Zip 15L / 20L รุ่นใหม่ล่าสุด สีใหม่ขาวเนียน
- เมื่อเดินทางไปต่างประเทศ แล้วกระเป๋าไม่มา … บอกวิธีเคลมประกัน ให้ได้เงินคืนครบถ้วน
- รีวิวกระเป๋า TUMI รุ่นใหม่ พร้อมส่วนลดพิเศษสูงสุด 30% ส่งท้ายปี
- ซู่ชิงพาไปช้อปปิ้งที่ Amazon Go แค่หยิบของ ก็เดินออกจากร้านได้เลย
- รีวิว Royal Orchid Prestige เลานจ์การบินไทยแห่งใหม่ ที่รอกันมานาน
- พาชม Japan Airlines กรุงเทพฯ – ญี่ปุ่น พร้อมชมเลานจ์ Sakura สนามบินสุวรรณภูมิ
- รีวิวกระเป๋า Samsonite Lite-Box Aluminium เรียบ หรู ทนทาน
- รีวิว TUMI Tahoe Finch Backpack เป้สะพายหลังเบาๆ แต่ฟังก์ชันแน่น!
- พาชม Steve Jobs Theater อย่างเจาะลึก สุดยอดหอประชุมที่ Apple ใช้เปิดตัว iPhone รุ่นใหม่
- รีวิว Royal Orchid Spa สนามบินสุวรรณภูมิ เลานจ์นวดก่อนขึ้นเครื่องบินที่ดีที่สุดในโลก
- รีวิว The Residences at Mandarin Oriental Bangkok คอนโดสุดหรูแห่งใหม่ พาชมห้อง Duplex
- ทำความเข้าใจ กรณีสายการบินห้ามนำ MacBook Pro 15 นิ้วขึ้นเครื่อง
- พาชมบริการสุดพิเศษจากแสนสิริ เพื่อลูกบ้านระดับ Luxury Collection
- บุกครัวการบินไทย! ชมเบื้องหลังอาหารทุกจานบนเครื่องบิน
- การบินไทยเปิดขาย ‘Preferred Seat’ จ่ายเงินเพิ่มตามระยะทาง เพื่อได้นั่งแถวหน้าสุด
- พาชมร้าน TUMI Flagship Store พร้อมเลือกกระเป๋า TUMI ใบโปรด 3 รุ่น
- รีวิว TUMI Alpha 3 กระเป๋าเดินทาง เพื่อนักเดินทางตัวจริง
- รอดอีกหลายชีวิต ถ้าทิ้งของทุกอย่าง
- เริ่มแล้ว THAI Max Express ใช้ไมล์ซื้อตั๋วยุโรปการบินไทย ได้ที่นั่งเลยไม่ต้องลุ้น
- บอกเทคนิค วิธีหาตั๋ว Business Class ให้ได้ถูกที่สุด!
- วิธีตั้งค่ามือถือให้ประหยัด Data ที่สุด ก่อนใช้ Wi-Fi บนเครื่องบิน
- คู่มือ (และมารยาท) การฝากซื้อของ จากเพื่อนที่ไปต่างประเทศ
- การบินไทย เปลี่ยนระบบแลกไมล์ใหม่ทั้งหมด ได้ไมล์เยอะขึ้น แลกแพงขึ้น มีผล 1 ต.ค.
- วิธีเคลม เมื่อสายการบินทำกระเป๋าเดินทางบุบ แตก ล้อหลุด
- ‘Boeing 737 MAX 8’ ใหม่เอี่ยม ตก 2 ลำ ภายใน 5 เดือน – สายการบินไหนมีเครื่องบินรุ่นนี้บ้าง?
- รีวิว AIS SIM2Fly แพ็กใหม่ รายปี 2,799 บาท ซิมเดียว ใช้ได้ทั้งปี คุ้มไหม? เหมาะกับใคร?
- ระวัง มินิบาร์โรงแรม ชาร์จเงินอัตโนมัติทันทีที่หยิบดู (แม้ไม่ได้กิน)
- สังเกตให้ดี “SSSS” อักษร 4 ตัว ที่คุณจะไม่อยากเห็นบน Boarding Pass
- ทางลัดสู่ ROP บัตรทอง – ด้วยบัตรเครดิตซิตี้ ภายในปี 2018
- คู่มือนักสะสมไมล์
- ที่นั่ง Business Class ที่นั่งไหน ที่ควรหลีกเลี่ยง
- รีวิว – AIS เปิดให้เช่า Pocket WiFi ที่สุวรรณภูมิและดอนเมืองแล้ว เริ่มต้นวันละ 150 บาท แชร์ได้ 10 เครื่อง
- วิธีแจ้งสิ่งของมีค่า มูลค่าเกิน 20,000 บาท ก่อนบินไปต่างประเทศ
- แนะวิธีคอมเพลนต่อโรงแรมและสายการบิน
- รีวิว iglootel โรงแรมทำจากน้ำแข็ง นอนหนาวเหน็บใกล้ขั้วโลกเหนือ
- วิธีเพิ่มบัตร Suica เข้าไปใน iPhone ใช้แตะขึ้นรถไฟใต้ดินญี่ปุ่นได้เลย
- แนะนำแอปสำหรับคนเดินทาง ที่ควรโหลดติดเครื่องไว้
- แชร์เทคนิค ใช้ WiFi ในห้องพักโรงแรมให้เร็วสะใจ
- รู้จักกับ 6 เทคโนโลยี Smart Home เพื่อชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น พร้อมสัมผัสของจริง
- ผ่าแผน “แสนสิริ” ทำไมทุ่ม 80 ล้านเหรียญ ลงทุนใน Standard Hotels, MONOCLE
- วิธีหา Flight ราคาถูกที่สุด ด้วยตัวเอง
- การบินไทยเอาจริง! ปีหน้าพบกับ เลานจ์ใหม่ที่สุวรรณภูมิ + เว็บใหม่ + ที่นั่งใหม่
- คอมหาย.. ได้คืนจาก Lost & Found สนามบินสุวรรณภูมิ + วิธีการติดต่อเมื่อสิ่งของสูญหาย
- บอกเทคนิค บินไกลแค่ไหนก็ไม่ Jet Lag
- สอนทำ “Status Match” ให้ได้บัตรสมาชิกระดับสูงสุดของโรงแรมแต่ละเครือ โดยไม่ต้องไปพักจริง
- ทำอย่างไรถึงไม่ถูกลากลงจากเครื่องบิน? – สิทธิของผู้โดยสาร – คนเดินทางต้องรู้!
- เริ่มแล้ว! สายการบินตะวันออกกลาง บินเข้าอเมริกา ห้ามนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นเครื่องบิน
- พรีวิว Airbus A350-900 XWB รุ่นใหม่ล่าสุดในฝูงบินของการบินไทย
- รวมทุกกลโกงของมิจฉาชีพ ในสถานที่ท่องเที่ยวทั่วโลก
- แชร์เทคนิคการใช้มือถือที่ต่างประเทศขั้นเทพ จากคนที่เจ็บมามาก
- [เที่ยวแบบ geek] พกสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว ลุย Rio de Janeiro ก่อนมหกรรมโอลิมปิก
- พาชม Apple Union Square ร้าน Apple Store ที่ใหม่ที่สุด และล้ำที่สุดในปัจจุบัน
- 8 เหตุผล ที่ชีวิตนี้ต้องเยือน Brisbane สักครั้ง
- รีวิว Boxtel โรงแรมรายชั่วโมง นอนสบาย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ
- ’60D’ ที่นั่ง Economy ที่ดีที่สุด บนการบินไทย Airbus A380
- วิธีใช้ห้องน้ำบนเครื่องบินอย่างเซียน
- อย่าแชร์รูป Boarding Pass
- รีวิว THE WISDOM Lounge สนามบินสุวรรณภูมิ
- รีวิว สิทธิประโยชน์ บัตรทอง Royal Orchid Plus ของการบินไทย – ใช้ครบ สุดคุ้ม
- เทคนิค ผ่านเครื่องสแกนที่สนามบินอย่างรวดเร็ว
- รวมปลั๊ก 14 แบบ ที่ใช้อยู่ทั่วโลก จะไปประเทศไหน เตรียมให้พร้อม!
- คนเดินทางต้องรู้ : โหลดกระเป๋ายังไงไม่ให้หาย + แชร์ประสบการณ์กระเป๋าหายได้คืน
- รวมสุดยอดบัตรเครดิต สำหรับปั๊มไมล์แลกตั๋วเครื่องบินโดยเฉพาะ [อัปเดต 2019]
- มารยาท 13 ประการบนเครื่องบิน มาเป็นผู้โดยสารที่น่ารักกันเถอะ!
- เผยวิธีเร็วที่สุด ที่จะได้บัตรทอง Royal Orchid Plus ของการบินไทย
- ไปโตเกียว ลงสนามบิน Narita (NRT) หรือ Haneda (HND) ดี?
- เทคนิคใช้ Data Roaming เมื่อไปต่างประเทศ ให้ประหยัดที่สุด
- ขึ้นเครื่องบิน เลือกที่นั่งตรงไหนดีที่สุด?
- รีวิว Wi-Fi บนเครื่องบิน การบินไทย (THAI Sky Connect)