รวบรวมบัตรเครดิตในไทย สำหรับการปั๊มไมล์ Royal Orchid Plus เพื่อแลกตั๋วเครื่องบินโดยเฉพาะครับ ปีนี้มีบัตรเครดิตที่น่าสนใจหลายใบ ที่มีโปรโมชั่นสะสมคะแนน แลกเป็นไมล์ ROP ได้ง่ายขึ้น สำหรับคนที่ใช้บัตรเครดิตเป็นประจำอยู่แล้ว หรือมีเหตุต้องเดินทางบ่อยๆ น่าจะเป็นประโยชน์มากครับ
Disclosure: บทความนี้ เขียนจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียน และไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ จากสายการบิน, ธนาคาร หรือ ตัวแทนใดๆ ที่เกี่ยวข้อง
เท่าที่ผมทราบ ปัจจุบันการบินไทย ได้ร่วมกับบัตรเครดิตทั้งหมด 13 ค่าย ในการให้สิทธิ์แลกคะแนนสะสมบัตรเครดิตมาเป็นไมล์ Royal Orchid Plus แต่ว่าไม่ใช่บัตรเครดิตทุกค่ายจะแลกได้คุ้มนะครับ ซึ่งถ้านับตามมาตรฐานของการสะสมแต้มบัตรเครดิตทั่วไป คือการใช้จ่ายทุก 25 บาท จะได้คะแนนสะสม 1 คะแนน จากนั้นต้องใช้ 2 คะแนนถึงจะแลกมาเป็นไมล์สะสมได้ 1 ไมล์ หรือโดยสรุปคือ ตามมาตรฐานแล้วต้องรูดบัตรเครดิต 50 บาท ถึงจะได้ 1 ไมล์
บัตรเครดิตหลายค่าย จึงได้ออกบัตรรุ่นสะสมไมล์โดยเฉพาะ (บ้างก็มีคำว่า Royal Orchid Plus อยู่ในชื่อบัตร หรือจะมีโลโก้ Royal Orchid Plus อยู่บนบัตร) เปิดโอกาสให้แลกคะแนนสะสมมาเป็นไมล์ได้เร็วขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วบัตรประเภทนี้จะสามารถแลก 1 คะแนน มาเป็น 1 ไมล์ได้เลยทันที หรือโดยเฉลี่ยคือ รูดบัตรใช้จ่าย 25 บาท จะได้ 1 ไมล์
แต่บัตรเครดิตที่รวบรวมมาวันนี้ คือบัตรเครดิตทั้งหลาย ที่สามารถแลกไมล์ได้ด้วยอัตราที่ต่ำกว่า 25 บาท = 1 ไมล์ครับ มีหลายใบที่น่าสนใจ และ “ปั๊มไมล์” กันได้สนุกเลย จะมีใบไหนที่น่าสนใจบ้าง ไปดูกัน!
Aeon Royal Orchid Plus Platinum
20 บาท = 1 ไมล์
ประเภทบัตร: VISA
เงื่อนไขการสมัคร: เงินเดือน 30,000 บาทขึ้นไป
ค่าธรรมเนียมรายปี: 3,210 บาท (ฟรีปีแรก)
ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี: ใช้จ่ายมากกว่า 300,000 บาทต่อปี
บัตร Priority Pass: ไม่มี
ใบแรกคือบัตรจากค่าย Aeon ที่ออกมาในชื่อบัตร Aeon Royal Orchid Plus Platinum ครับ ใบนี้จุดเด่นตรงที่สมัครง่าย ไม่มีเงื่อนไขในการใช้จ่ายขั้นต่ำใดๆ ทั้งสิ้น ทุกการรูดบัตร 20 บาท สามารถแลกได้ 1 ไมล์เลย ถือว่าเป็นบัตรที่แลกเป็นไมล์ได้ในอัตราที่ดีแบบไม่มีเงื่อนไขแอบแฝง
โปรโมชั่นเสริมของใบนี้ คือได้โบนัสสูงสุด 2,000 ไมล์เมื่อเดินทางด้วยการบินไทยครบทุก 4 เที่ยวบิน เป็นต้น แถมยังใช้เข้า Lounge การบินไทยที่สุวรรณภูมิได้อีก 2 ครั้งต่อปี เมื่อเดินทางด้วยการบินไทยหรือไทยสมายล์ด้วย
ไหนๆ ใบนี้ค่าธรรมเนียมก็ฟรีปีแรก สมัครมาเอาไมล์ก่อน (ได้หลายพันไมล์อยู่นะ) ถ้าไม่ค่อยได้ใช้จะยกเลิกทีหลังก็ไม่เสียหายครับ หลังจากปีแรก บัตรนี้มีค่าธรรมเนียมรายปี 3,210 บาท (ยกเว้นได้หากใช้จ่ายเกิน 300,000 บาทต่อปี)
THAI American Express Platinum Credit Card
13.64 บาท = 1 ไมล์
(ถ้าใช้จ่ายเกิน 1,500,000 บาทต่อปี)
ประเภทบัตร: American Express
เงื่อนไขการสมัคร: รายได้ 700,000 บาทต่อปี
ค่าธรรมเนียมรายปี: 4,280 บาท
ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี: โทรขอยกเว้นได้ พิจารณาเป็นกรณีไป
บัตร Priority Pass: ไม่มี
ใบนี้ต้องยกเป็นหนึ่งในบัตรสุดยอดของการปั๊มไมล์ ROP ครับ ทาง American Express ร่วมกับการบินไทยออกบัตรในชื่อ (อย่างยาว) ว่า THAI American Express Platinum Credit Card (หลายคนเรียกย่อๆ ว่า “AMEX การบินไทย” หรือ “AMEX ROP”) ซึ่งเป็นบัตรเครดิตของ AMEX (ไม่ใช่บัตรชาร์จการ์ดเหมือนพวก AMEX รุ่นปกติ) บัตรนี้นอกจากจะปั๊มไมล์ได้เร็วแล้ว ยังมีสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการเดินทางอีกมหาศาลครับ
โปรโมชั่นสมัครบัตร ใช้จ่ายครั้งแรกภายใน 30 วันที่ได้รับอนุมัติบัตร จะได้โบนัสไมล์ 5,000 ไมล์ และจะได้อีก 5,000 ไมล์เมื่อทำการบินกับการบินไทยเส้นทางระหว่างประเทศ ด้วยตั๋วที่ซื้อกับบัตรใบนี้
AMEX การบินไทยใบนี้ อัตราการได้ไมล์ปกติคือ 25 บาท ได้คะแนนสะสม 1.5 แต้ม และต้องใช้คะแนน 1.5 แต้มมาแลกเป็น 1 ไมล์ (ซึ่งก็คือ 25 บาท = 1 ไมล์นั่นแหละ) แต่ถ้าในปีนั้นใช้จ่ายผ่านบัตรเกิน 100,000 บาท ก็จะได้คะแนนสะสมเพิ่มขึ้นอีก 25% กลายเป็น 20 บาท = 1 ไมล์
ยังไม่พอแค่นั้น ถ้าปีนั้นใช้บัตรเกิน 1,500,000 บาท ทาง AMEX ก็จะให้ไมล์สะสมเข้าบัญชี ROP อัตโนมัติอีกทันที 35,000 ไมล์ครับ นั่นแปลว่า ในการใช้จ่าย 1,500,000 บาทแรกของแต่ละปี จะได้ไมล์สะสมรวมถึง 110,000 ไมล์ (75,000 + 35,000) หรือคิดเป็นอัตรา 13.64 บาท = 1 ไมล์ !!
ส่วนการใช้จ่ายยอดที่เกินจาก 100,000 บาทแรก ก็จะได้ไมล์สะสมที่อัตรา 20 บาท = 1 ไมล์ต่อไปจนครบรอบปีที่เป็นสมาชิกบัตร และยังได้ไมล์สะสมสองเท่าเมื่อใช้บัตรใบนี้ซื้อตั๋วเครื่องบินกับการบินไทย เรียกว่า ถ้าใครได้ใช้บัตรใบนี้ด้วยยอดใช้จ่ายสูงพอสมควร ถือว่าโคตรคุ้มมากในการปั๊มไมล์ ROP เลยครับ
สิทธิประโยชน์ในการเดินทางอื่นๆ ก็อลังการมาก เช่นสิทธิ์ในการได้บัตรทอง ROP เร็วกว่าปกติ ถ้าบินด้วยชั้นธุรกิจหรือชั้นหนึ่งภายในปีแรกของการเป็นสมาชิกบัตร ด้วยการบินแค่ 25,000 ไมล์ (น้อยกว่าปกติครึ่งนึง), สิทธิ์ในการแลกไมล์ให้เพื่อนร่วมเดินทางในอัตราครึ่งเดียว ถ้าซื้อตั๋วชั้นธุรกิจหรือชั้นหนึ่ง ฯลฯ
แต่ข้อเสียของ American Express ก็อย่างที่ทราบกันคือ หลายๆ ร้านค้า โดยเฉพาะร้านเล็กๆ จะไม่ค่อยจะรับ AMEX กัน และบัตรใบนี้ยังมีค่าธรรมเนียมรายปีอีก 4,280 บาท แต่หากมียอดใช้จ่ายที่สูงเพียงพอ ก็สามารถโทรไปขอยกเว้นค่าธรรมเนียมได้ โดยจะพิจารณาเป็นปีๆ ไปครับ ซึ่งจากประสบการณ์ หากจ่ายค่าธรรมเนียมนี้ ก็จะมีการสมนาคุณกลับมาเป็นแต้มบัตรเครดิตที่ค่อนข้างคุ้มค่ากับค่าธรรมเนียมที่จ่ายอยู่พอสมควร
Citibank Royal Orchid Plus Preferred
13.33 บาท = 1 ไมล์
(ถ้าใช้จ่ายเกิน 1,000,000 บาทต่อปี)
ประเภทบัตร: VISA Infinite
เงื่อนไขการสมัคร: อายุเกิน 20 ปี, เงินเดือน 50,000 บาทขึ้นไป
ค่าธรรมเนียมรายปี: ปีแรก 5,350 บาท, ปีถัดไป 10,700 บาท
ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี: ลงทุนใน citigold 10,000,000 บาทขึ้นไป
บัตร Priority Pass: ไม่มี
บัตรเครดิตจาก Citibank ที่ออกมาสำหรับปั๊มไมล์ ROP โดยเฉพาะ โดยทำเป็นเกรดสูงอย่าง VISA Infinite ออกมาในชื่อบัตร Citibank Royal Orchid Plus Preferred บัตรใบนี้ให้อัตราการแลกไมล์ที่ 20 บาท = 1 ไมล์ ตั้งแต่การใช้จ่ายบาทแรกเลยแบบไม่มีเงื่อนไขใดๆ แอบแฝง หรือ หากมียอดใช้จ่ายในหมวดท่องเที่ยว, ร้านอาหาร และยอดใช้จ่ายสกุลเงินต่างประเทศ จะได้ไมล์ที่อัตรา 15 บาท ต่อ 1 ไมล์
เมื่อใช้จ่ายครบ 1,000,000 บาทในปีนั้นๆ จะได้โบนัสไมล์เพิ่มเติมอีก 25,000 ไมล์ นั่นแปลว่าในการใช้จ่าย 1,000,000 บาทแรกของแต่ละปี จะได้ไมล์สะสมรวมอย่างน้อย 75,000 ไมล์ หรือเทียบเท่ากับ 13.33 บาท = 1 ไมล์
บัตรใบนี้ยังให้สิทธิ์เลื่อนสถานะบัตร ROP การบินไทยให้เป็นบัตรทองได้เร็วขึ้นด้วยเงื่อนไขพิเศษด้วย คือ ใช้จ่ายครบ 1,000,000 บาท บวกกับเดินทางด้วยการบินไทย (ชั้นโดยสารอะไรก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่ตั๋วโปรโมชั่น V, W, ไม่รวมตั๋วกรุป G และไม่รวมไทยสมายล์) ให้ครบ 22,000 ไมล์ ภายใน 1 ปี หรืออีกเงื่อนไขนึงคือ ใช้จ่ายครบ 1,000,000 บาท บวกกับเดินทางด้วยการบินไทย 15 เที่ยวบิน ภายใน 1 ปี ก็จะได้รับสิทธิ์เป็นบัตรทอง Royal Orchid Plus ทันที ถือเป็นเงื่อนไขการขยับขึ้นเป็นบัตรทองได้แบบบินน้อยที่สุดวิธีหนึ่งเลย
สิทธิประโยชน์อื่นๆ คือ ฟรีลิมูซีนรับส่งสนามบินสุวรรณภูมิ 2 ครั้งต่อปี (และส่วนลด 50% ในการใช้บนริการ 2 ครั้งถัดไป), ใช้ Lounge การบินไทยที่สุวรรณภูมิ 2 ครั้งต่อปี เมื่อเดินทางด้วยการบินไทย, ได้คะแนนสะสม 3 เท่าถ้าซื้อตั๋วการบินไทยกับ Citibank Travel Service, และยังต้อนรับสมาชิกบัตรใหม่ ด้วยโบนัส 17,000 ไมล์สำหรับคนที่สมัครใหม่ เมื่อใช้จ่ายครบ 30,000 บาทภายใน 30 วันแรกที่ได้รับบัตร และจ่ายค่าธรรมเนียมรายปี พร้อมสมัครบริการ eStatement
บัตรใบนี้มีค่าธรรมเนียมรายปี 5,350 บาท สำหรับปีแรก และ 10,700 บาท สำหรับปีถัดๆ ไป และยกเว้นไม่ได้ (นอกจากจะมีการลงทุนกับ Citigold 10,000,000 บาทขึ้นไป จึงจะขอยกเว้นเป็นกรณีพิเศษได้)
UOB PRIVI MILES Card
18 บาท = 1 ไมล์
(เมื่อใช้จ่ายไม่ครบ 300,000 บาทต่อไตรมาส)
ประเภทบัตร: VISA Signature
เงื่อนไขการสมัคร: เงินเดือน 70,000 บาทขึ้นไป
ค่าธรรมเนียมรายปี: 4,280 บาท
ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี: ใช้จ่ายมากกว่า 300,000 บาทต่อปี
บัตร Priority Pass: ไม่มี
บัตรเครดิตสำหรับสะสมไมล์โดยเฉพาะของค่าย UOB มาในชื่อ PRIVI MILES โดยเน้นจุดเด่นว่าสามารถแลกไมล์ได้ด้วยเรต 18 บาท = 1 ไมล์ ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ดีกว่าบัตรเครดิตสะสมไมล์โดยทั่วไปพอสมควร โดยการสะสมของค่ายนี้คือ ทุกการใช้จ่าย 15 บาท จะได้ 1 คะแนนสะสม และต้องใช้ 1.2 คะแนน เพื่อแลกเป็น 1 ไมล์ครับ
บัตรใบนี้ ไม่มีบัตร Priority Pass มาให้ แต่จะให้สิทธิ์การใช้เลานจ์ Royal Silk Lounge ที่สนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อเดินทางด้วยการบินไทย ในเที่ยวบินระหว่างประเทศ เมื่อมียอดใช้จ่ายเกิน 100,000 บาทต่อไตรมาส จะได้รับคูปองเข้าใช้เลานจ์ 1 ครั้ง (สูงสุดไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี)
ข้อดีของบัตรใบนี้ คือสามารถแลกคะแนนเข้าโปรแกรมสะสมไมล์ได้ 3 โปรแกรม คือ Royal Orchid Plus, Asia Miles และ Singapore Airlines KrisFlyer ครับ
บัตรใบนี้มีค่าธรรมเนียม 4,280 บาทต่อปี แต่จะยกเว้นอัตโนมัติ เมื่อมียอดใช้จ่ายเกิน 300,000 บาทต่อปี
SCB My Travel Card
17 บาท = 1 ไมล์
(ตั้งแต่บาทแรก ไม่มีเงื่อนไข)
ประเภทบัตร: Mastercard
เงื่อนไขการสมัคร: เงินเดือน 35,000 บาทขึ้นไป
ค่าธรรมเนียมรายปี: 3,000 บาท
ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี: ใช้จ่ายมากกว่า 300,000 บาทต่อปี
บัตร Priority Pass: ไม่มี
บัตรเครดิตไทยพาณิชย์ SCB MY TRAVEL ออกมาสำหรับคนใช้แต้มแลกเป็นไมล์โดยเฉพาะ เงื่อนไขน้อยนิด สมัครง่าย และได้อัตราแลกไมล์ 17 บาท = 1 ไมล์ ซึ่งถือว่าดีมากๆ ตัวบัตรเป็น Mastercard ที่สามารถจ่ายได้แทบจะทุกร้านค้าที่รูดบัตรได้
บัตรใบนี้อาจจะมีสิทธิประโยชน์ร่วมเกี่ยวกับการเดินทางไม่เยอะเท่าไรนัก ไม่มีบัตร Priority Pass ให้ และไม่ได้สิทธิ์รถลิมูซีน และสิทธิ์เข้าเลานจ์แต่อย่างใด มีให้เพียงสิทธิ์ของมาสเตอร์การ์ดเอง ที่สามารถใช้เลานจ์ได้หากเครื่องบินดีเลย์ ต้องสมัครเป็นรายครั้ง และจำกัดการสมัครต่อปีเอาไว้ ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์จริง
นอกจากไมล์ ROP แล้ว บัตรใบนี้ ยังสามารถแลกคะแนนเป็น AirAsia BIG Point (15 บาท/1 แต้ม BIG) และ Bangkok Airways FlyerBonus (20 บาท/1 แต้ม FlyerBonus) ได้ด้วย
โดยรวมแล้ว บัตรที่อยู่ในค่าย VISA/Mastercard ที่ให้อัตราการแลกไมล์ที่ดีขนาดนี้ ให้ตั้งแต่บาทแรกที่รูดใช้จ่าย โดยไม่มีเงื่อนไขอื่นๆ แอบแฝง ตัวนี้ถือว่าน่าคบหามากๆ ครับ
ยังมีบัตรเครดิตใบอื่นๆ อีกหลายใบที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ ที่มีสิทธิพิเศษต่างๆ ไม่แพ้กัน แต่ที่เลือกมาพูดถึงวันนี้จะมีเฉพาะบัตรที่มีอัตราการแลกไมล์ดีกว่าค่าเฉลี่ยเท่านั้น สำหรับคนที่ต้องการเอายอดใช้จ่ายบัตรเครดิตมาปั๊มไมล์เพื่อแลกเอาตั๋วเครื่องบินโดยเฉพาะครับ อีกอย่างคือ พวกโปรโมชั่นชั่วคราวของบัตรเครดิตต่างๆ ก็ไม่ควรมองข้ามนะ เช่น ใช้จ่ายที่ร้านค้าบางร้าน หรือ บางหมวดหมู่ในบางช่วงเวลา อาจได้คะแนนสะสม 3 เท่า, 5 เท่า หรือ 10 เท่าเลยก็มี รวมถึงโปรโมชั่นสมัครบัตรเครดิตครั้งแรกของบางใบ ก็น่าดึงดูดไม่ใช่น้อย เข่นสมัครและใช้จ่าย 3 เดือนแรกกี่บาท ก็จะได้กี่หมื่นไมล์ทันที ซึ่งจะมีโปรพวกนี้ออกมาเรื่อยๆ น่าดึงดูดอย่างมาก
สรุปว่าสุดยอดของบัตรเครดิตปั๊มไมล์ (ถ้าเอามปั๊มไมล์อย่างเดียว ไม่นับสิทธิประโยชน์อื่นๆ) สำหรับคนมียอดใช้บัตรค่อนข้างเยอะ หากมั่นใจว่าใช้จ่ายทั้งปีครบ 1.5 ล้านบาท ผมยกให้ AMEX การบินไทยครับ (13.64 บาท = 1 ไมล์) ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีได้อีกต่างหาก ส่วน VISA/Mastercard ที่ควรถือไว้ปั๊มไมล์ เพราะ AMEX นี่หาร้านค้ารับบัตรนี้ค่อนข้างยาก ก็ต้องขอยกให้ SCB My Travel มีที่อัตราการแลกไมล์อยู่ที่ 17 บาท = 1 ไมล์ และขอยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีได้เช่นกัน
ใครจะบัตรใบไหน ผมคงเลือกแทนกันไม่ได้ เพราะแต่ละใบก็ออกมาแข่งขันกันในเรื่องของสิทธิพิเศษต่างๆ และมีค่าธรรมเนียมรายปี กับเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป ศึกษาให้ดีก่อนสมัครบัตรนะครับ
อย่างไรก็ตาม ขอให้ใช้บัตรเครดิตกันอย่างมีวินัยนะครับ ชำระยอดเต็มทุกครั้ง และรูดบัตรใช้จ่ายเท่าที่มีกำลังจะจ่ายได้ในแต่ละเดือนเท่านั้นครับ ขอให้คิดเสมอว่าบัตรเครดิตเป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้จ่าย ไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมาก ได้ใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ แถมยังได้คะแนนสะสมเป็นโบนัสอีกต่อหนึ่ง บัตรเครดิตไม่ได้เป็นการยืมเอาเงินในอนาคตมาใช้จ่ายล่วงหน้าแต่อย่างใดครับ
ใครใช้บัตรใบไหนอยู่ แชร์กันได้นะ
บทความโดย:
อู๋ spin9
- Nantawan Bangna km 15 ที่สุดของความลักชูรีบนบางนา-ตราด
- พาชม Supalai Icon Sathorn — โครงการใหม่ ชีวิตหรูหรา ใจกลางสาทร
- เลือกของแต่งบ้านใหม่ งานคราฟต์ขั้นสุด ที่ MOTIF x O2E สยามพารากอน
- รีวิว Philips Hue ชุดใหญ่ — ไม่ใช่แค่ไฟเปลี่ยนสี แต่งห้องสวยขึ้นเยอะ
- เที่ยวออสเตรเลีย!
- รีวิวคอนโด SCOPE Langsuan — ดีไซน์เวิลด์คลาสบนโลเคชันที่ไพรม์ที่สุดในกรุงเทพฯ
- เราอัพเกรดประตูใหม่ ของดีจริง
- พฤกษ์ภิรมย์ ราชพฤกษ์ตัดใหม่ —โอ่โถงสมฐานะ บนทำเลราชพฤกษ์
- พาชมร้าน Smart Home Flagship Store — ความร่วมมือจาก 4 แบรนด์ มาที่เดียวจบ
- รีวิว The Bangkok Thonglor – คอนโดหรู ต้นซอยทองหล่อ
- รีวิว VIVE กรุงเทพกรีฑา — บ้านเดี่ยวดีไซน์เก๋ โดดเด่นไม่ซ้ำใคร
- เศรษฐสิริ บางนา-สุวรรณภูมิ บ้านหรูบนทำเลเศรษฐกิจ จากแบรนด์ Sansiri
- รีวิว EBO X — หุ่นยนต์ดูแลความปลอดภัยในบ้าน กล้องชัด เดินได้ทั่วห้อง สั่งงานด้วยเสียง
- พาทัวร์โรงงานผลิตบ้าน SCG HEIM — บ้านทั้งหลังผลิตที่นี่!
- ARTALE ASOKE – RAMA 9 ศิลปะที่ผสานฟังก์ชันอย่างลงตัวบนทำเลใจกลางพระราม 9
- Grand Bangkok Boulevard ปิ่นเกล้า-กาญจนาฯ — ซีรีส์ใหม่ อัพไซส์ใหญ่ขึ้นยิ่งกว่าเดิม
- พาชม Dusit Residences โครงการหรู ใจกลางเมือง พร้อมมาตรฐานบริการระดับห้าดาว
- Nantawan ปิ่นเกล้า-กาญจนา สวยหรู สะอาดตา คลาสสิคแบบฝรั่งเศส
- รีวิว Technogym Run นวัตกรรมที่ปฏิวัติวงการลู่วิ่ง
- รีวิวหลังติดโซลาร์เซลล์ — ประหยัดค่าไฟไปแล้ว 60,000 บาท คืนทุนใน 7 ปี
- Grand Bangkok Boulevard รามอินทรา-เกษตรนวมินทร์ บ้านหรูพร้อมโถงบันไดวน คลับเฮาส์มหาวิหาร
- Malton Gates กรุงเทพกรีฑา บ้านเดี่ยว Super Luxury ประตูสู่คุณภาพชีวิตที่ดี
- เปิดระบบ Smart Home ที่บ้าน — บอกหมด เราใช้อะไรบ้าง
- ทดสอบเสื้อ Uniqlo UV Protection — เนื้อผ้าบางเบาขนาดนี้จะกัน UV ได้ขนาดไหน
- พาชม Park Heritage พัฒนาการ — บ้านเดี่ยว Super Luxury หรูสุดของสัมมากร เริ่ม 49 ล้านบาท
- พาชม Park Origin Thonglor—3 ตึกใหญ่ ไฮเอนด์ โดดเด่นที่ส่วนกลาง
- รีวิว เครื่องล้างจาน Bosch — ใช้แล้วชีวิตดี!
- รีวิว ‘ปราณ’ พัฒนาการ 32 บ้านที่เป็นลมหายใจของครอบครัว
- อาหารของสายการบินไหน Healthy ที่สุด ของปี 2019
- รีวิวโรงหนังระดับ First Class ที่ SF World Cinema หรูหรา นั่งสบายสุด
- อู๋-ซู่ชิง พาเที่ยว New York City
- รีวิว เป้ Peak Design Everyday Backpack Zip 15L / 20L รุ่นใหม่ล่าสุด สีใหม่ขาวเนียน
- เมื่อเดินทางไปต่างประเทศ แล้วกระเป๋าไม่มา … บอกวิธีเคลมประกัน ให้ได้เงินคืนครบถ้วน
- รีวิวกระเป๋า TUMI รุ่นใหม่ พร้อมส่วนลดพิเศษสูงสุด 30% ส่งท้ายปี
- ซู่ชิงพาไปช้อปปิ้งที่ Amazon Go แค่หยิบของ ก็เดินออกจากร้านได้เลย
- รีวิว Royal Orchid Prestige เลานจ์การบินไทยแห่งใหม่ ที่รอกันมานาน
- พาชม Japan Airlines กรุงเทพฯ – ญี่ปุ่น พร้อมชมเลานจ์ Sakura สนามบินสุวรรณภูมิ
- รีวิวกระเป๋า Samsonite Lite-Box Aluminium เรียบ หรู ทนทาน
- รีวิว TUMI Tahoe Finch Backpack เป้สะพายหลังเบาๆ แต่ฟังก์ชันแน่น!
- พาชม Steve Jobs Theater อย่างเจาะลึก สุดยอดหอประชุมที่ Apple ใช้เปิดตัว iPhone รุ่นใหม่
- รีวิว Royal Orchid Spa สนามบินสุวรรณภูมิ เลานจ์นวดก่อนขึ้นเครื่องบินที่ดีที่สุดในโลก
- รีวิว The Residences at Mandarin Oriental Bangkok คอนโดสุดหรูแห่งใหม่ พาชมห้อง Duplex
- ทำความเข้าใจ กรณีสายการบินห้ามนำ MacBook Pro 15 นิ้วขึ้นเครื่อง
- พาชมบริการสุดพิเศษจากแสนสิริ เพื่อลูกบ้านระดับ Luxury Collection
- บุกครัวการบินไทย! ชมเบื้องหลังอาหารทุกจานบนเครื่องบิน
- การบินไทยเปิดขาย ‘Preferred Seat’ จ่ายเงินเพิ่มตามระยะทาง เพื่อได้นั่งแถวหน้าสุด
- พาชมร้าน TUMI Flagship Store พร้อมเลือกกระเป๋า TUMI ใบโปรด 3 รุ่น
- รีวิว TUMI Alpha 3 กระเป๋าเดินทาง เพื่อนักเดินทางตัวจริง
- รอดอีกหลายชีวิต ถ้าทิ้งของทุกอย่าง
- เริ่มแล้ว THAI Max Express ใช้ไมล์ซื้อตั๋วยุโรปการบินไทย ได้ที่นั่งเลยไม่ต้องลุ้น
- บอกเทคนิค วิธีหาตั๋ว Business Class ให้ได้ถูกที่สุด!
- วิธีตั้งค่ามือถือให้ประหยัด Data ที่สุด ก่อนใช้ Wi-Fi บนเครื่องบิน
- คู่มือ (และมารยาท) การฝากซื้อของ จากเพื่อนที่ไปต่างประเทศ
- การบินไทย เปลี่ยนระบบแลกไมล์ใหม่ทั้งหมด ได้ไมล์เยอะขึ้น แลกแพงขึ้น มีผล 1 ต.ค.
- วิธีเคลม เมื่อสายการบินทำกระเป๋าเดินทางบุบ แตก ล้อหลุด
- ‘Boeing 737 MAX 8’ ใหม่เอี่ยม ตก 2 ลำ ภายใน 5 เดือน – สายการบินไหนมีเครื่องบินรุ่นนี้บ้าง?
- รีวิว AIS SIM2Fly แพ็กใหม่ รายปี 2,799 บาท ซิมเดียว ใช้ได้ทั้งปี คุ้มไหม? เหมาะกับใคร?
- ระวัง มินิบาร์โรงแรม ชาร์จเงินอัตโนมัติทันทีที่หยิบดู (แม้ไม่ได้กิน)
- สังเกตให้ดี “SSSS” อักษร 4 ตัว ที่คุณจะไม่อยากเห็นบน Boarding Pass
- ทางลัดสู่ ROP บัตรทอง – ด้วยบัตรเครดิตซิตี้ ภายในปี 2018
- คู่มือนักสะสมไมล์
- ที่นั่ง Business Class ที่นั่งไหน ที่ควรหลีกเลี่ยง
- รีวิว – AIS เปิดให้เช่า Pocket WiFi ที่สุวรรณภูมิและดอนเมืองแล้ว เริ่มต้นวันละ 150 บาท แชร์ได้ 10 เครื่อง
- วิธีแจ้งสิ่งของมีค่า มูลค่าเกิน 20,000 บาท ก่อนบินไปต่างประเทศ
- แนะวิธีคอมเพลนต่อโรงแรมและสายการบิน
- รีวิว iglootel โรงแรมทำจากน้ำแข็ง นอนหนาวเหน็บใกล้ขั้วโลกเหนือ
- วิธีเพิ่มบัตร Suica เข้าไปใน iPhone ใช้แตะขึ้นรถไฟใต้ดินญี่ปุ่นได้เลย
- แนะนำแอปสำหรับคนเดินทาง ที่ควรโหลดติดเครื่องไว้
- แชร์เทคนิค ใช้ WiFi ในห้องพักโรงแรมให้เร็วสะใจ
- รู้จักกับ 6 เทคโนโลยี Smart Home เพื่อชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น พร้อมสัมผัสของจริง
- ผ่าแผน “แสนสิริ” ทำไมทุ่ม 80 ล้านเหรียญ ลงทุนใน Standard Hotels, MONOCLE
- วิธีหา Flight ราคาถูกที่สุด ด้วยตัวเอง
- การบินไทยเอาจริง! ปีหน้าพบกับ เลานจ์ใหม่ที่สุวรรณภูมิ + เว็บใหม่ + ที่นั่งใหม่
- คอมหาย.. ได้คืนจาก Lost & Found สนามบินสุวรรณภูมิ + วิธีการติดต่อเมื่อสิ่งของสูญหาย
- บอกเทคนิค บินไกลแค่ไหนก็ไม่ Jet Lag
- สอนทำ “Status Match” ให้ได้บัตรสมาชิกระดับสูงสุดของโรงแรมแต่ละเครือ โดยไม่ต้องไปพักจริง
- ทำอย่างไรถึงไม่ถูกลากลงจากเครื่องบิน? – สิทธิของผู้โดยสาร – คนเดินทางต้องรู้!
- เริ่มแล้ว! สายการบินตะวันออกกลาง บินเข้าอเมริกา ห้ามนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นเครื่องบิน
- พรีวิว Airbus A350-900 XWB รุ่นใหม่ล่าสุดในฝูงบินของการบินไทย
- รวมทุกกลโกงของมิจฉาชีพ ในสถานที่ท่องเที่ยวทั่วโลก
- แชร์เทคนิคการใช้มือถือที่ต่างประเทศขั้นเทพ จากคนที่เจ็บมามาก
- [เที่ยวแบบ geek] พกสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว ลุย Rio de Janeiro ก่อนมหกรรมโอลิมปิก
- พาชม Apple Union Square ร้าน Apple Store ที่ใหม่ที่สุด และล้ำที่สุดในปัจจุบัน
- 8 เหตุผล ที่ชีวิตนี้ต้องเยือน Brisbane สักครั้ง
- รีวิว Boxtel โรงแรมรายชั่วโมง นอนสบาย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ
- ’60D’ ที่นั่ง Economy ที่ดีที่สุด บนการบินไทย Airbus A380
- วิธีใช้ห้องน้ำบนเครื่องบินอย่างเซียน
- อย่าแชร์รูป Boarding Pass
- รีวิว THE WISDOM Lounge สนามบินสุวรรณภูมิ
- รีวิว สิทธิประโยชน์ บัตรทอง Royal Orchid Plus ของการบินไทย – ใช้ครบ สุดคุ้ม
- เทคนิค ผ่านเครื่องสแกนที่สนามบินอย่างรวดเร็ว
- รวมปลั๊ก 14 แบบ ที่ใช้อยู่ทั่วโลก จะไปประเทศไหน เตรียมให้พร้อม!
- คนเดินทางต้องรู้ : โหลดกระเป๋ายังไงไม่ให้หาย + แชร์ประสบการณ์กระเป๋าหายได้คืน
- รวมสุดยอดบัตรเครดิต สำหรับปั๊มไมล์แลกตั๋วเครื่องบินโดยเฉพาะ [อัปเดต 2019]
- มารยาท 13 ประการบนเครื่องบิน มาเป็นผู้โดยสารที่น่ารักกันเถอะ!
- เผยวิธีเร็วที่สุด ที่จะได้บัตรทอง Royal Orchid Plus ของการบินไทย
- ไปโตเกียว ลงสนามบิน Narita (NRT) หรือ Haneda (HND) ดี?
- เทคนิคใช้ Data Roaming เมื่อไปต่างประเทศ ให้ประหยัดที่สุด
- ขึ้นเครื่องบิน เลือกที่นั่งตรงไหนดีที่สุด?
- รีวิว Wi-Fi บนเครื่องบิน การบินไทย (THAI Sky Connect)