5G ที่ว่าเร็วแล้ว ก็ยังเร็วไม่พอ ส่องเทรนด์ 5.5G ในงาน Mobile World Congress 2024 เซี่ยงไฮ้

ตอนนี้เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย กำลังเปลี่ยนผ่านจาก 5G สู่ 5.5G ซึ่งก็คือ 5G เดิมนั่นเอง แต่รองรับการใช้งานได้มากขึ้น เร็วขึ้น ความหน่วงต่ำกว่า 5G ใช้เวลาดาวน์ลิงค์ 10 Gbps และอัพโหลดได้ในระดับ 1 Gbps 

ทีมงาน spin9 ได้เข้าร่วมงาน Mobile World Congress 2024 เซี่ยงไฮ้ โอเปอเรเตอร์ทั้งในจีนและต่างประเทศมาโชว์เคสเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยมีหัวเว่ยเป็นผู้เล่นหลักเรื่อง 5.5G ความเคลื่อนไหวล่าสุดในปีนี้คือหัวเว่ยตั้งใจจะเปิดใช้งาน 5.5G ในเชิงพาณิชย์แล้ว หลังประกาศเปิดตัวและประกาศจุดยืนเรื่อง 5.5G มาหลายปี 

ความสามารถในการเชื่อมต่อ IoT, เซนเซอร์ , หุ่นยนต์, smart factory,  smart mining  รวมถึง use case ใหม่ๆ ยกตัวอย่างประสบการณ์ดิจิทัลใหม่ๆ เช่น การคุยกับ AI agents ตามห้างร้าน โรงแรม การคุยเรียลไทม์กับ AI avatar ที่ไลฟ์ขายของ ต้องการเครือข่ายที่เร็วและความหน่วงต่ำ ซึ่ง 5G ในตอนนี้รองรับได้แต่ยังไม่ดีกับความต้องการที่จะเพิ่มมากขึ้น

นั่นจึงเป็นที่มาของ  5.5G พ่วงโซลูชั่นที่รองรับ AI กลายเป็น 5G-A (5G Advanced) นอกจากเครือข่าย 5.5G แล้วยังทำงานพ่วงกับ AI และคลาวด์ได้ไปพร้อมกัน บนเครือข่ายออปติคอล F5G-A กิกะบิทด้วยค่าความหน่วง 4 มิลลิวินาที 

ซึ่งภายในงาน Mobile World Congress 2024 หัวเว่ยได้โชว์เคสความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของ 5G-A หลายอย่าง ซึ่งบางเครือข่ายในจีนเริ่มใช้งานแล้ว ไม่ว่าจะเป็น

  • คุยวิดีโอคอลแบบ HD พร้อมฟังก์ชั่นการแปลภาษาสดๆ ไปด้วย 
  • สตรีมสดจาก HD สู่พาโนรามา แบบที่ยังคงความคมชัด ใช้ในงาน exhibition
  • ระบบโทรศัพท์บนคลาวด์ (Cloud Phones) ที่เน้นการทำงานบนคลาวด์มากกว่าการโหลดแอปเข้าเครื่อง เริ่มมีให้บริการแล้วในจีน และจะขยายการใช้งานได้มากขึ้นถ้าทำงานบน 5G-A 
  • ใช้ 5G-A ร่วมกับการสื่อสารและการตรวจจับ (HCS) มาใช้ในเส้นทางข้ามทะเลที่ไกลราว 100 กม. จากโจวชานไปยังเซี่ยงไฮ้ ซึ่งทำให้อาหารทะเลที่จับได้จากโจวชานทุกเช้า สามารถถูกจัดส่งโดยโดรนไปยังเซี่ยงไฮ้ได้ภายในเที่ยงวัน
  • โอเปอเรเตอร์เริ่มนำ 5G-A มาขายเป็นแพ็กเกจใช้งานมือถือ เช่น  China Mobile, China Unicom, China Telecom, du UAE, e& UAE, stc KSA และ Zain KSA  
  • หรือคอนเซปต์ใหม่ๆ ในอนาคต เช่น กระจกอัจฉริยะ ที่แสดง AI avatar เทรนนิ่งออกกำลังกาย โยคะ พิลาทิส และโต้ตอบกับเราได้, การควบคุมรถบัสผ่านระบบ simulator ให้บริการตามเส้นทางรถ, การ generate ต่อภาพจากผลงานศิลปะที่มีอยู่เดิม แต่มีตัวเราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของภาพวาดนั้นด้วยและปรินท์เรียลไทม์ เป็นลูกเล่นให้คนที่เข้ามาชมงานศิลปะ เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม การจะทำให้  5G-A ระดับ commercial เกิดขึ้นได้จริง ต้องอาศัยหลายปัจจัย คือเครือข่ายโอเปอเรเตอร์ต้องเอาด้วย ลงทุนสร้างเสาสัญญาณเพิ่ม อีกอย่างคือดีไวซ์ยังมีจำกัด มือถือที่รองรับเครือข่าย 5G-A ซึ่งตอนนี้ยังมีแค่ 20 รุ่นทั่วโลกที่รองรับเทคโนโลยี  5G-A

เมื่อมองเทรนด์โลกแล้ว คาดว่าอีกสักพักในระยะเวลา 2-3 ปี เราก็น่าจะได้เห็นบริการใหม่ๆ หรือโรงงานอุตสาหกรรมในไทยนำ 5G-A ไปใช้ ซึ่งเคสจากประเทศไทยที่มีจัดแสดงในงานเป็นตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย 5G คือ โรงงาน Midea ในไทยที่นำ 5G ไปใช้ดูอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ลำเลียงผ่านสายพาน, บริการ 5G Boost ของ AIS เป็นแพ็กเกจเสริมเพิ่มความเร็วเน็ตในเวลาเร่งด่วน ในระยะเวลาสั้นๆ 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save